หัวข้อ   “ ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า
        ดัชนีฯ นักเศรษฐศาสตร์ส่งสัญญาณ เตรียมรับมือเศรษฐกิจถดถอยยาว 2 ไตรมาส
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง
“ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 - 6 เดือน
ข้างหน้า”
  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15–24 กรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่า
 
                 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทย
ในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 34.40
จุด ลดลงร้อยละ 39.3 จากการสำรวจครั้ง
ก่อนหน้า
และอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ใน
สถานะอ่อนแอและเป็นสถานะที่อ่อนแอมากที่สุดในรอบ 1 ปี 6 เดือน โดย
เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การส่งออกสินค้า
และการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการท่องเที่ยวจาก
ต่างประเทศเป็นปัจจัยเดียวที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่ายังคงอยู่ในสถานะ
แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องนับจากเดือนเมษายน 2555
 
                 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทย
ในอีก 3 เดือนข้างหน้า  พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 41.50   ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 และลดลงจาก
การสำรวจครั้งก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะยังคงแย่ลงจากปัจจุบัน และเมื่อมอง
ออกไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 55.27
ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 หมายความว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน โดยมีการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ การท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่คอยประคองเศรษฐกิจ
ไม่ให้ทรุดตัวลงไปมาก
 
                 ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งจากค่าดัชนีบ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะ
ดังกล่าวจะกินเวลาประมาณ 6 เดือนหรือ 2 ไตรมาสก่อนที่เศรษฐกิจจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือน
มกราคม 2557 โดยจะมีการใช้จ่ายและการลงทุนจากภาครัฐกับการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นปัจจัยที่จะ
คอยประคองเศรษฐกิจให้ยังคงขยายตัวได้อยู่
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
            ภาพที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทย (จำแนกตามดัชนี)
 
             1. ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

ปัจจัย
ขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
2554
2555
2556
เปลี่ยน
แปลง
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภค
    ภาคเอกชน
52.46
46.77
32.39
48.31
50.00
59.23
68.97
68.10
21.31
-68.7
2) การลงทุน
    ภาคเอกชน
50.82
48.36
20.71
44.07
46.67
51.52
55.08
62.28
21.31
-65.8
3) การใช้จ่าย
    และการ
    ลงทุนภาครัฐ
52.59
54.03
45.71
57.14
51.69
46.21
61.40
59.82
43.33
-27.6
4) การส่งออก
    สินค้า
69.17
66.39
20.00
36.21
23.77
11.36
24.58
19.49
13.11
-32.7
5) การท่องเที่ยว
    จากต่าง
    ประเทศ
59.68
54.03
23.24
50.85
55.74
57.58
73.73
73.73
72.95
-1.1
ดัชนีรวม
56.94
53.92
28.41
47.31
45.57
45.18
56.75
56.68
34.40
-39.3
หมายเหตุ : ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย
  ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
  ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
  ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
 
 
             2. ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ปัจจัยขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจ
ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
2554
2555
2556
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภค
    ภาคเอกชน
66.07
45.08
62.14
56.03
57.63
50.78
61.61
50.00
30.83
2) การลงทุนภาค
    เอกชน
57.41
42.24
69.57
58.62
51.72
41.41
52.59
51.82
31.90
3) การใช้จ่ายและ
    การลงทุนภาครัฐ
70.69
71.19
71.64
75.00
70.34
57.38
66.36
67.59
49.14
4) การส่งออก
    สินค้า
49.12
31.36
54.41
65.79
42.37
30.16
55.36
34.82
32.50
5) การท่องเที่ยว
    จากต่างประเทศ
67.24
47.41
59.29
56.78
58.33
56.15
63.79
50.00
63.11
ดัชนีรวม
62.11
47.46
63.41
62.44
56.08
47.18
59.94
50.85
41.50
 
 
             3. ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 6 เดือนข้างหน้า (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
2554
2555
2556
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภคภาคเอกชน
48.25
68.84
62.28
55.21
49.11
61.76
50.00
50.00
2) การลงทุนภาคเอกชน
44.07
81.82
67.31
55.00
48.15
56.73
62.04
45.54
3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
70.00
75.00
75.93
61.82
60.83
70.41
81.13
60.71
4) การส่งออกสินค้า
25.44
62.12
67.59
44.23
37.50
64.15
47.92
47.27
5) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
37.96
73.19
68.10
62.73
48.39
66.04
56.48
72.81
ดัชนีรวม
45.14
72.19
68.24
55.80
48.80
63.82
59.51
55.27
 
 
             4. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3 - 6 เดือนข้างหน้า

 
3 เดือนข้างหน้า
6 เดือนข้างหน้า
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะดีขึ้น
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะทรงตัว
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
-ไม่มี-
การบริโภคภาคเอกชน
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะแย่ลง
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
การส่งออกสินค้า
การลงทุนภาคเอกชน
การบริโภคภาคเอกชน
การส่งออกสินค้า
การลงทุนภาคเอกชน
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก
3 และ 6 เดือนข้างหน้า
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 32 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัย
               เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
               ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์                          ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  
               ธนาคารธนชาต   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัททริสเรทติ้ง   บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน
               บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์  
               คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะวิทยาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  15 – 24 กรกฎาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 กรกฎาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
25
40.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
38.7
             สถาบันการศึกษา
13
21.0
รวม
62
100.0
เพศ:    
             ชาย
32
51.6
             หญิง
30
48.4
รวม
62
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.6
             26 – 35 ปี
19
30.6
             36 – 45 ปี
20
32.3
             46 ปีขึ้นไป
21
33.9
             ไม่ระบุ
1
1.6
รวม
62
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.8
             ปริญญาโท
45
72.6
             ปริญญาเอก
14
22.6
รวม
62
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
11
17.7
             6 - 10 ปี
14
22.6
             11 - 15 ปี
10
16.1
             16 - 20 ปี
8
12.9
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
29.0
             ไม่ระบุ
1
1.7
รวม
62
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776